ตรวจสุขภาพดวงตา จำเป็นแค่ไหน

เด็กแรกเกิดและทุกช่วงอายุ ตลอดจนกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงและผู้มีโรคประจำตัว ควรได้รับการตรวจสุขภาพดวงตาอย่างน้อยปีละครั้ง
นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ดวงตาเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญ การมีดวงตา สายตาที่ปกติทำให้ประกอบภารกิจประจำวันทั้งเรื่องส่วนตัวและการงานได้อย่างครบถ้วน มีชีวิตที่เป็นสุข สุขภาพจิตดี ครอบครัวมีความสุข อย่างไรก็ตามพบว่าโรคตาหลายชนิดมักเกิดจากโรคซึ่งรักษาได้หากมารับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้นการตรวจตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น แม้ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ได้รับการวินิจฉัยโรคตาที่ไม่มีอาการเตือนได้แต่เนิ่นๆ เพื่อการรักษา ที่เหมาะสม

อายุเท่าไร ควรตรวจตาบ่อยแค่ไหน?
แพทย์หญิงสายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้มีอาการผิดปกติทางตา ควรไปพบจักษุแพทย์ทันทีที่มีอาการ สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติ ได้แก่ กลุ่มคนปกติกับกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงควรได้รับการตรวจเช่นกัน

ในกลุ่มคนปกติ คือ เด็กแรกเกิด กุมารแพทย์จะตรวจร่างกายเป็นประจำ ช่วงอายุ แรกเกิดถึง 5 ปี ควรได้รับการตรวจดวงตา สายตา ภาวะตาเข และป้องกันภาวะตาขี้เกียจ หากตรวจพบการรักษาจะได้ผลดี

ช่วงอายุ 6 – 20 ปี เป็นช่วงวัยเรียนชั้นประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย มักมีภาวะสายตาผิดปกติอาจสายตาสั้น ยาว หรือเอียง ซึ่งควรได้รับการแก้ไข

ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี เป็นวัยเรียนต่อกับวัยทำงาน อาจไม่พบโรคตามากนักนอกจากมีอาชีพที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ

ช่วงอายุ 30 – 39 ปี เป็นวัยสายตาเริ่มเปลี่ยนแปลงควรได้รับการตรวจสัก 2 ครั้ง

ส่วนช่วงอายุ 40 – 65 ปี เป็นวัยเริ่มเข้าสู่ผู้สูงอายุ อาจพบโรคตาได้ควรได้รับการตรวจ 1-2 ปีต่อครั้ง

และอายุ 65 ปีขึ้นไป มักมีโรคตาที่เสื่อมตามวัยควรตรวจตาปีละครั้ง

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องตรวจตาตามเวลาอย่างเคร่งครัด
กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยง ควรตรวจตาอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำ ได้แก่

  1. เด็กเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์
  2. ผู้มีปัจจัยเสี่ยงของโรคต้อหิน เช่น สายตาสั้นมาก มีประวัติต้อหินในครอบครัว เคยได้รับการผ่าตัดตามาก่อน
  3. ผู้เป็นเบาหวาน
  4. ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อจอตาฉีกขาดและหลุดลอก ได้แก่ เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา สายตาสั้นมาก มีประวัติโรคนี้ในครอบครัว
  5. ผู้มีโรคทางกายที่ต้องใช้ยาบางตัวต่อเนื่อง เช่น ยารักษาวัณโรค ยารักษาโรคข้อ เป็นต้น

ทราบหรือไม่ว่าโรคตับแข็งอยู่ได้กี่ปี

คุณทราบหรือไม่ว่าโรคตับแข็งอยู่ได้กี่ปี และวิธีการรักษามีอย่างไรบ้าง 

เราต่างรู้วิธีการออกกำลังกายกันอยุ่แล้วว่าต้องออกอย่างไร แต่ใครจะรู้บ้างถ้าหากเราอายุมากขึ้นหรือเราอยากให้พ่อแม่หรือคนที่เรารักที่มีอายุมากขึ้นแล้วออกกำลังกายควรออกอยากไรปัญหาที่เราพบบ่อยๆสำหรับการออกกำลังกายนั้นคือการบากเจ็บ เนื่องจากการไม่วอมอัพร่างกายก่อนไม่ยืดเส้นยืดสาย และการออกกำลังกายไม่เหมาะกับสภาพร่างกายของเราเอง บางคนอยากวิ่ง อยากชกมวยเพราะว่าเป้นกระแส เป็นที่นิยมแต่ร่างกายของเรานั้นไม่พร้อมที่จะทำออกกำลังกายหนักๆแบบนั้น เลยทำให้มีอาการบาดเจ็บตามมาหรือบาดเจ็บเรื้อรัง มีทั้งการบาดเจ็บข้อเข่า ข้อเทา เส้นเอ็น เป็นต้น

การชกมวยนั้นเป้นกีฬาที่เหมาะสำหรับวัยรุ่น หรือคนที่มีอายุไม่อยาก แต่ถ้าหากเรานั้นอายุเกิน 30 ปีขึ้นไปแล้ว อยากลองที่จะชกมวยดูการชกมวยนั้นมีแรงกระแทกมหาสาร ร่างกายจึงระบมและจะมีอาการบาดเจ็บตามมา อาการฟกช้ำนั้น ใช้เวลารักษาไม่นานเท่าไหร่ก็จะหาย แต่ถ้าเป็นอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าจากกระดูกอ่อนช้ำหรือหมอนรองกระดูกฉีกขาด จะมีการฟื้นตัวได้ยากมาก

แต่ถ้าหากผู้สูงอายุอยากชกมวยจริงๆ ต้องเริ่มจากการที่ฝึกชกลมก่อน ค่อยๆฝึกท่าทางจนชำนาญแล้วจึงจะค่อยๆขยับเริ่มชกมสวยจากเบาๆ จนทำให้ร่างกายเกิดความคุ้นชิน กล้ามเนื้อพร้อมรับแรงกระแทกจึงจะออกแรงได้มาขึ้น

วิธีการออกำลังกายนั้น คือการต้องค่อยๆเพิ่มน้ำหนัก จะต้องมีท่าท่างในการเคลื่อนไหวร่างกายที่ถูกต้องและจะต้องมีเทคนิคที่ถูกต้องอีกด้วย เพื่อที่จะได้ประสิทธิภาพในการออกำลังกายมากที่สุดและหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บมาก

ค่อยๆเพิ่มเวลาการออกกำลังกาย ค่อยๆขยับเวลาการออกกำลังการ จาก 30 นา ที ค่อยๆเพิ่มขึ้นให้ร่างกายได้ปรับตัว ให้ร่างกายได้กระตุ้นกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ประจำเดือนผิดปกติบ่งบอกอะไร

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ เตือน 8 สัญญาณอันตราย ของประจำเดือนผิดปกติ ทำให้เกิดโรคร้าย และเป็นอันตรายถึงชีวิต หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ อายุเฉลี่ยของการมีประจำเดือนครั้งแรกอยู่ที่ 12 ปี 7 เดือน ซึ่งเลือดประจำเดือนเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกประกอบด้วย ฮอร์โมน 2 ชนิด ได้แก่ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการตกไข่ โดยแต่ละรอบเดือนเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้องน้อย ในช่วงเวลา 8 – 48 ชั่วโมง หลังมีประจำเดือน เนื่องจากร่างกายมีการหลั่งสารเคมี ทำให้เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกมีการหดเกร็ง ร่วมกับอาการปวดเมื่อยหลัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก นอกจากนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม เช่น หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึ่งอาการดังกล่าวจะลดลงหรือหายไปเมื่อประจำเดือนหมด

นายแพทย์สุกรม ชีเจริญ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้หญิงบางรายที่มีประจำเดือนผิดปกติ อาจมองข้ามโดยคิดว่าไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต ซึ่งสามารถสังเกตร่างกายตัวเองได้จาก 8 สัญญาณเตือนอันตราย ได้แก่

1.รอบเดือนมาผิดปกติ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล หรือผู้หญิงบางรายใช้ยาคุมกำเนิด จึงส่งผลให้รอบเดือนขาด รังไข่ทำงานผิดปกติ สิวขึ้น อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง

2.ระบบขับถ่ายผิดปกติ รู้สึกปวดที่ท้องน้อยในขณะปัสสาวะ ท้องเสียในช่วงมีประจำเดือน

3.ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการปวดหลัง หรือปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์ สาเหตุอาจเกิดจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือเนื้องอกในมดลูก

4.ประจำเดือนมามากกว่า 7 วันขึ้นไปอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ เช่น มีเนื้องอกในมดลูก มดลูกอักเสบ เป็นต้น

5.ปวดหลังส่วนล่างอย่างรุนแรง สาเหตุมาจากสารโพรสตาแกลนดิน ทำให้มดลูกบีบตัวมากและยังขัดขวางการไหลเวียนของออกซิเจนในกล้ามเนื้อรอบมดลูก

6.ลิ่มเลือดประจำเดือนมีขนาดใหญ่ผิดปกติ เสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกในมดลูก

7.มีหยดเลือดออกมาในช่วงที่ไม่มีประจำเดือนอาจเป็นผลมาจากการใช้ยาคุมกำเนิด เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคไทรอยด์ หรือภาวะท้องนอกมดลูก

8.ประจำเดือนมีกลิ่นเหม็นมากกว่าปกติ เกิดจากการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียภายในช่องคลอด ทำให้มดลูกอักเสบได้ หากพบอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะลุกลามเป็นอันตรายถึงชีวิต

สุขภาพดีกับผัก ผลไม้ 5 สี

ทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผักและผลไม้มีวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย แต่หลายคนคงยังไม่ทราบใช่ไหมล่ะคะว่า ผักผลไม้สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม 5 สี แต่ละสีก็มีสารอาหารและคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไป การทานผักผลไม้ให้หลากหลายและครบทั้ง 5 สีจะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง ความดันโลหิต มะเร็งบางชนิด เป็นต้น อีกทั้งทำให้ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณสดใส ชะลอความแก่ชราได้อีกต่างหาก วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับผักผลไม้ 5 สี ว่ามีสีอะไรบ้างและแต่ละสีมีประโยชน์อย่างไร ตามมาดูกันเลย

ผักผลไม้สีเขียว
ผักผลไม้ที่มีสีเขียวมีสารสำคัญ คือ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll), ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ฯลฯ ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ชะลอการเสื่อมของจอประสาทตา มีไฟเบอร์สูง ช่วยเรื่องการขับถ่าย ยับยั้งการเกิดริ้วรอย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย

  • ผักผลไม้สีเขียว: กะหล่ำปลีสีเขียว, บรอกโคลี, คะน้า, หน่อไม้ฝรั่ง, อะโวคาโด, แตงกวา, ผักโขม, ถั่วลันเตา, แอปเปิ้ลสีเขียว, องุ่นเขียว เป็นต้น

ผักผลไม้สีแดง
ผักผลไม้ที่มีสีแดงมีสารสำคัญ คือ ไลโคปีน (Lycopene) เบตาไซซีน (Betacycin) และสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งปากมดลูก ช่วยลดปริมาณไขมันไม่ดีชนิด LDL-cholesterol ช่วยชะลอการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด ลดความดันโลหิตและลดการแข็งตัวของหลอดเลือด นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของริ้วรอยจากสิวอีกด้วย

  • ผักผลไม้สีแดง: มะเขือเทศ, กระหล่ำปลีแดง, พริกแดง, หอมแดง, บีทรูท, แอปเปิ้ลสีแดง, สตรอว์เบอร์รี่, เชอรี่, แครนเบอร์รี่, ราสเบอร์รี่, มะละกอ, ส้มโอสีชมพู, ทับทิม, องุ่นแดง, แตงโม และดอกกระเจี๊ยบ เป็นต้น


ผักผลไม้สีม่วงและสีน้ำเงิน
ผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงินมีสารสำคัญ คือ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีการวิจัยพบว่า แอนโทไซยานินมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินซีและอีถึง 2 เท่า ช่วยปกป้องหลอดเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดได้ ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้และตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งของระบบสืบพันธุ์ ยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดท้องเสีย ต้านไวรัส และลดการอักเสบ

  • ผักผลไม้สีม่วงและสีน้ำเงิน: มะเขือม่วง, กะหล่ำปลีสีม่วง, มันสีม่วง, เผือก, บลูเบอร์รี่, แบล็กเบอร์รี่, องุ่นสีม่วง, ลูกพรุน, ลูกไหน, ลูกหว้า, ข้าวแดง, ข้าวนิล, ช้าวเหนียวดำ เป็นต้น


ผักผลไม้สีเหลืองและสีส้ม
ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีส้มมีสารสำคัญ คือ แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ เบต้า-แคโรทีน (Beta-carotene) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และวิตามินซี (Vitamin C) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการอักเสบ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ช่วยรักษาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ชะลอการเสื่อมของจอประสาทตา มีส่วนช่วยพัฒนาการมองเห็นของเด็กเล็ก ลดการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย และช่วยให้ผิวพรรณสดใส

  • ผักผลไม้สีเหลืองและสีส้ม: แครอท, ฟักทอง, มันเทศ, ข้าวโพด, มันฝรั่งหวาน, พริกสีเหลือง, ส้ม, เสาวรส, มะม่วง, แคนตาลูป, มะละกอ, สับปะรด เป็นต้น


ผักผลไม้สีขาว
ผักผลไม้ที่มีสีขาวมีสารสำคัญ คือ แซนโทน (Xanthone) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอาการอักเสบ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตและโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และช่วยลดอาการปวดตามข้อ

  • ผักผลไม้สีขาว: กล้วย, ลูกแพร์, น้อยหน่า, ลิ้นจี่, มังคุด, งาขาว, ขิง, กระเทียม, ผักกาดขาว, หัวไชเท้า, ดอกกะหล่ำ, ดอกแค, เห็ด, มันฝรั่ง เป็นต้น

ไม่น่าเชื่อใช่ไหมคะว่าผักผลไม้ที่เราทานกันอยู่ทุกวันจะแบ่งได้ตั้ง 5 สี และแต่ละสีก็มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างมหาศาล เพราะฉะนั้นนอกจากจะทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว ทุกคนควรทานผักผลไม้ให้ครบ 5 สีในทุก ๆ วันด้วยนะคะ ร่างกายจะได้มีภูมิต้านทาน แข็งแรงไร้โรคภัย นอกจากนี้ยังทำให้เราหุ่นดี ผิวพรรณสดใสเต่งตึง หน้าใสอ่อนกว่าวัย เรียกว่าถ้ากินผักผลไม้ให้ครบ 5 สีเราก็จะสวยจากภายในออกมาถึงภายนอกกันเลย

พาราเซตามอล กินอย่างไรถึงจะดี

“พาราเซตามอล” ยาสามัญประจำบ้านที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี หลายบ้านยังมีติดไว้เพื่อใช้ในการลดไข้และบรรเทาอาการปวดในชีวิตประจำวัน ถือเป็นยาที่เข้าถึงได้ง่ายและจัดเป็นยาที่ไม่อันตราย แต่ในขณะเดียวกัน หากมีการใช้ยาไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน จึงมีการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาพาราเซตามอลที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อเป็นการให้ความรู้ต่อทุกคน นำไปสู่การใช้ยาที่เกิดประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย

ทำความรู้จักกับยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอล เป็นยาบรรเทาอาการปวดระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และบางครั้งยังใช้ลดไข้ในเด็กและผู้ใหญ่ จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน และเป็นยาที่ไม่อันตราย

กลไกการออกฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอลออกฤทธิ์โดยการยับยั้งสารเคมีบางชนิดในสมองของมนุษย์ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด เช่น สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) และจะชักนำให้เกิดกลไกการลดอุณหภูมิหรือลดไข้ของร่างกายลง

การใช้ยาพาราเซตามอล

  • ในการกินยา 1 ครั้ง ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
  • กินครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • ไม่ควรกินเกิน 8 เม็ดต่อวัน หรือ 4 กรัม/วัน
  • สามารถกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
  • ระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่องหรือน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา
  • เป็นยารักษาตามอาการ หากไม่มีอาการปวดหรือไม่มีไข้ ไม่จำเป็นต้องกินยา
  • กรณีลืมกินยา สามารถกินได้ทันทีที่นึกขึ้นได้ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา

ปัญหาที่พบจากการใช้ยาพาราเซตามอล

ใช้ยาพร่ำเพรื่อ

การกินยาพาราเซตามอลพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ตับทำงานบกพร่อง โดยเฉพาะการกินยาร่วมกับแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการตับอักเสบมากขึ้น

ใช้ยาเกินขนาด

การกินยาพาราเซตามอลต่อครั้ง ระบุว่าต้องกินยาขนาด 1-2 เม็ด ถ้าหากกินมากเกิน 2 เม็ด ต้องดูที่น้ำหนักตัวของผู้ป่วยว่าสัมพันธ์กับขนาดยา 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หรือไม่ ถ้าหากนำน้ำหนักตัวผู้ป่วยมาคำนวณแล้วเกินกว่า 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) แปลว่าใช้ยาเกินขนาด จะทำให้มีความเสี่ยงต่อตับเช่นเดียวกับการใช้ยาพร่ำเพรื่อ

ใช้ยาทั้งที่ไม่มีอาการ

พบว่าบางรายมีการใช้ยาทั้งที่ไม่มีอาการ เช่น การกินยาดักไว้ก่อน เพื่อป้องกันอาการไข้ ทั้งที่ยังไม่มีไข้เกิดขึ้น ถือเป็นการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล และไม่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษา ทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงจากยาได้

อาการของการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด

อาการแสดงของการใช้ยาเกินขนาดจะแสดงใน 1-3 วัน มีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่อออก เป็นระยะสั้น ๆ โดยจะเกิดภายใน 24 ชั่วโมง บางรายอาจไม่มีอาการ

ระยะที่ 2 หลังกินยาระหว่าง 24-48 ชั่วโมง ไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อเจาะเลือดจะพบว่าเอนไซม์ทรานซามิเนส (transaminase) เริ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่แสดงถึงการบาดเจ็บของตับ

ระยะที่ 3 หลังกินยาไปแล้ว 48 ชั่วโมง มีอาการตับอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารอีกครั้ง มีภาวะแทรกซ้อนเหมือนตับอักเสบทั่วไป หากรุนแรงอาจมีอาการสมองเสื่อมจากโรคตับ และเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที

ข้อห้าม/ข้อควรระวังในการใช้ยาพาราเซตามอล

  • หากมีภาวะการทำงานของตับผิดปกติ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ
  • ห้ามใช้ยากับคนที่แพ้ยาพาราเซตามอลเด็ดขาด อาการแพ้ยา ได้แก่ ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไมออก
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ

การเก็บรักษายาพาราเซตามอล

  • เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
  • เก็บให้พ้นแสงแดดและความร้อน อย่าให้อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส
  • เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • อย่าเก็บยาในที่ชื้น เพราะจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ